ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
1. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)
(http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm) ได้
รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคืดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องโดยการฝึก
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ
ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่าันั้น
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้
เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic
method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฎีนี้
ที่ใช้คำถามเพื่อดึงดูดความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัด
และช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
(http://www.th.wikipedia.org/wiki/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงแนวความคิดของ มาสโลว์ (Maslow)
ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น
ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น
ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ
อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับ
รู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ
ทางในการแสดงพฤติกรรม
(http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning ) ของ ไอวาน พาร์พลอฟ ( Ivan Pavlop )
พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรมหรือการตอบ
สนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน
อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การทำงานของต่อมต่าง
ๆในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ
พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง
หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ พาร์พลอฟ
เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข
(conditioning) กล่าวคือ
การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ
สถานการณ์เกิดขึ้น
ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น
กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล
เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
(เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล
แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า
สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล
เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response)
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)
เป็นทฤษฎีที่พัฒนาจิตหรือสมองจะได้รับการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ยิ่งเรียนรู้ในสิ่งที่ยากมากเท่าไร จิตหรือสมอง
ก็จะสามารถพัฒนาได้มายิ่งขึ้นด้วย
เอกสารอ้างอิง
URL:http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm. เข้าถึงเมื่อวันที่ 24มิถุนายน 2555
มาสโลว์. URL:http://www.th.wikipedia.org/wiki/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2555
ไอวาน พาร์พลอฟ. URL:http://www.th.wikipedia.org/wiki/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น